รวม ‘ถาม-ตอบ’ เกี่ยวกับ Non-Immigrant Visa “O” ที่พบมากที่สุด

หนังสือเดินทาง Non-Immigrant “O” คือ หนังสือเดินทางที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศออกให้กับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ผู้ติดตามชาวต่างชาติที่มีความประสงค์จะติดตามครอบครัวที่มาทำงานหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทย ผู้ติดตามสามี/ภรรยา ผู้ติดตามคนในครอบครัวที่มาทำงานในประเทศไทย เป็นต้น

การเข้ามาในประเทศไทยในรูปแบบดังกล่าวนี้ล้วนแล้วแต่ต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้องทั้งสิ้น ทั้งการขอหนังสือเดินทาง Non-O และการต่อหนังสือเดินทาง Non-O อย่างไรก็ตาม ทั้งการขอหนังสือเดินทาง Non-O และการต่อหนังสือเดินทาง Non-O นั้นมีเงื่อนไขเฉพาะของหนังสือเดินทางที่ผู้ยื่นขอจะต้องศึกษาให้ดี PMP Serve (Thailand) ได้รวบรวมคำถามและคำตอบเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง Non-O ที่พบบ่อยที่สุดมาฝากกัน

คำถาม: ใครบ้างที่สามารถขอหนังสือเดินทาง Non-Immigrant “O” เพื่อติดตามครอบครัวได้?

คำตอบ: ผู้ที่สามารถขอหนังสือเดินทาง Non-O ได้แก่บุคคล 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทยหรืออุปการะบุตรคนไทย
  • ครอบครัวหรือผู้ติดตามของผู้ถือหนังสือเดินทางประเภท Non- Immigrant “B” ที่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  • ครอบครัวหรือผู้ติดตามของผู้ถือหนังสือเดินทางเกษียณ ซึ่งอายุมีต่ำกว่า 50 ปี

คำถาม: กรณีผู้ยื่นขอหนังสือเดินทาง Non-O เป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส) มีหลักเกณฑ์การพิจารณาหนังสือเดินทางอย่างไรบ้าง?

คำตอบ: หลักเกณฑ์การพิจารณา หนังสือเดินทาง Non-O มีดังนี้

  • ชาวต่างชาติต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  • มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
  • กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสที่อยู่ในความอุปการะนั้น บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสต้องยังไม่ได้สมรสและอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์
  • กรณีบิดาหรือมารดา ชาวต่างชาติที่บิดาหรือมารดาต้องการติดตามนั้น ต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี
  • กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายสามีซึ่งเป็นชาวต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากในธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือนไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี

คำถาม: พ่อตา แม่ยาย สามารถยื่นติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่?

คำตอบ: พ่อตา แม่ยาย ไม่สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานหรือทำธุรกิจแล้วได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในหลักเกณฑ์

คำถาม: กรณีการขอหนังสือเดินทาง Non-O เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง?

คำตอบ: การขอหนังสือเดินทาง Non-O เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย หลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

  • ชาวต่างชาติต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  • มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท ณ วันยื่นคำขอ มีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดาหรือฝากประจำ) และเงินคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือนไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรก ให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคาร คำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท นับถึงวันยื่นคำขอ

คำถาม: การขอหนังสือเดินทางผู้ติดตามประเภท Non-O สามารถดำเนินการได้เมื่อไร?

คำตอบ: การขอหนังสือเดินทาง Non-O ครั้งแรก ผู้ติดตามครอบครัวจะได้รับหนังสือเดินทางเข้าครั้งเดียว ซึ่งมีอายุ 90 วัน ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศที่ผู้ติดตามนั้นถือสัญชาติอยู่

สำหรับการขอต่อหนังสือเดินทางครั้งต่อไป ผู้ติดตามจะต้องยื่นเรื่องล่วงหน้าก่อนอายุหนังสือเดินทางหมดอย่างน้อย 21 วัน โดยจะขอขยายเวลาการพักอาศัยได้สูงสุด 1 ปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ในระหว่างที่รอผลพิจารณา สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้

คำถาม: ชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทาง Non-O Visa สามารถทำงานได้หรือไม่?

คำตอบ: ชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทาง Non-O จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยตามกฎหมาย หากมีความประสงค์ที่จะทำงาน จะต้องขอหนังสือเดินทาง Non-B และต้องมีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น

คำถาม: ชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทาง Non-O สามารถเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราได้หรือไม่?

คำตอบ: ไม่สามารถเปลี่ยนประเภท เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่กำหนดของหนังสือเดินทาง Non-O

คำถาม: ชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทาง Non-O Visa กรณีที่ได้รับหนังสือเดินทางแบบ 1 ปี จำเป็นจะต้องยื่นแบบรายงานตัวหรือไม่?

คำตอบ: จำเป็นจะต้องยื่นแบบรายงานตัว ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก 90 วัน

คำถาม: ชาวต่างชาติที่ถือหนังสือเดินทาง Non-O ที่มีความจำเป็นต้องออกนอกประเทศไทย โดยต้องการรักษาสิทธิเดิมที่ได้รับอนุญาตหากกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง จะต้องทำอย่างไร?

คำตอบ: หากต้องการจะเดินทางออกไปต่างประเทศแล้วกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง โดยต้องการรักษาสิทธิเดิมที่ได้รับอนุญาต จะต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในประเทศไทย (Thailand Re-Entry Permit) ก่อนเดินทางออก ซึ่งการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในประเทศไทย สามารถทำได้ 2 แบบดังนี้

  • แบบ Single Re-Entry สามารถใช้เดินทางได้ครั้งต่อครั้ง เหมาะกับผู้ที่เดินทางออกไปต่างประเทศไม่บ่อย หรือมีอายุหนังสือเดินทางเหลืออยู่น้อย
  • แบบ Multiple Re-Entry สามารใช้เดินทางได้มากกว่า 1 ครั้ง เหมาะกับผู้ที่เดินทางออกไปต่างประเทศบ่อยครั้ง หรือมีอายุหนังสือเดินทางเหลืออยู่เยอะ

ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดไว้

PMP SERVE (THAILAND) รับทำหนังสือเดินทาง Non-Immigrant Visa O

PMP SERVE (THAILAND) ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านหนังสือเดินทาง รับทำหนังสือเดินทาง Non-O รับต่อหนังสือเดินทาง Non-Oให้บริการยื่นขอและรับทำหนังสือเดินทางติดตามครอบครัว Non-O ให้บริการยื่นต่อและรับต่อหนังสือเดินทางติดตามครอบครัว Non-O ให้บริการยื่นขอและรับทำหนังสือเดินทางแต่งงาน Non-O ให้บริการยื่นต่อและรับต่อหนังสือเดินทางแต่งงาน Non-O รับเปลี่ยนประเภทหนังสือเดินทาง หรือเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา และต่อหนังสือเดินทางให้ชาวต่างชาติทุกประเภท ด้วยประสบการณ์การทำงานให้กับชาวต่างชาติจากหลากหลายประเทศกว่า 18 ปี ทำให้ PMP SERVE (THAILAND) เป็นทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้และมีความชำนาญในการขอหนังสือเดินทาง ขอหนังสือเดินทางเกษียณอายุ ทำ Work permit ต่อใบอนุญาตทำงานให้กับลูกค้า ด้วยระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานและการดำเนินงานตามกฎระเบียบข้อกฎหมาย พร้อมกับการรักษาความลับของลูกค้า ในราคามิตรภาพ ทำให้เราเป็นที่ยอมรับของลูกค้าชาวต่างชาติและบริษัทชั้นนำด้วยดีตลอดมา ยินดีให้คำปรึกษาและบริการแก่ทุกท่าน

 

ที่มา: https://www.immigration.go.th/?page_id=1447

Scroll to Top