หน้าที่ของสำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีอะไรบ้าง?
งานบัญชีเป็นงานที่ผู้ประกอบการหลายคนส่ายหน้าและเลือกที่จะว่าจ้างสำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชีเพื่อทำหน้าที่แทน โดยเฉพาะการจ้างผู้รับจ้างทำบัญชีภายนอกที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการจ้างพนักงานบัญชีประจำได้ค่อนข้างมาก แล้วผู้ให้บริการทำบัญชีนั้นมีกี่ประเภท? เราจะพาไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชีเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการพิจารณาเลือกรูปแบบสำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการได้
ประเภทของสำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชีที่ผู้ประกอบการควรทราบ
- ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ คือ ผู้ที่รับจ้างทำบัญชีในนามบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคล โดยแม้จะเป็นการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่านิติบุคคลที่รับจ้างทำบัญชี เนื่องจากงานบัญชีเป็นงานวิชาชีพ รูปแบบกิจการจึงไม่ได้สำคัญไปกว่าความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพท่านนั้น ๆ อาทิ ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระบางรายที่อาจจะมีงานประจำอยู่แล้ว และนำความรู้ความสามารถที่มีมารับจ้างทำบัญชีในนามส่วนตัวเพิ่มเติม เป็นต้น
- นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ “นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี” ไม่ว่าจะทำบัญชีหรือสอบบัญชี ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีภายใน 30 วันหลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วเสร็จ โดยนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีนั้นจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีจากสำนักงานบัญชีก่อนใช้บริการรับทำบัญชีได้
- สำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิจะเข้าร่วมการรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ คือ
- สำนักงานบัญชีต้องมีการรับทำบัญชีของธุรกิจไม่น้อยกว่า 30 ราย
- หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีและปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมฯ ไว้แล้ว
- มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีและปฏิบัติงานเต็มเวลาอย่างน้อย 1 คน
- มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
- หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
- ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 2 และ 6 ด้วย
- สำนักงานบัญชีซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจะได้รับหนังสือรับรองจากกรมฯ ซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี
หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีอะไรบ้าง?
หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ผู้รับทำบัญชีที่มีต่อกิจการขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา ได้แก่ ผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีหรือผู้รับทำบัญชีนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้ว บริการรับทำบัญชีมักครอบคลุมงานดังนี้
- หน้าที่ที่กฎหมายบังคับ
- ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน
- ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- ยื่น ภ.ง.ด.1 หากมีการจ่ายเงินให้พนักงาน
- ยื่น ภ.ง.ด.3 หากมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
- ยื่น ภ.ง.ด.53 หากมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล
- ยื่น ภ.ง.ด.54 หากมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
- ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ยื่น ภ.พ.30 พร้อมจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ยื่น ภ.พ.36 หากมีการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ
- ยื่นประกันสังคม
- นำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
- แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
- แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากลูกจ้างลาออก
- หน้าที่ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี
- ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
- จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร (แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร) บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
- จัดทำบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เป็นต้น
- จัดทำบัญชีสินค้า
- จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
- ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่าง ๆ เป็นต้น
- จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
- ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
- ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน
- ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
- ยื่นแบบภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
- ยื่นแบบสรุปการจ่ายค่าจ้างและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
- ยื่นแบบสรุปรายการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมประจำปี (กท.20)
- นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- นำส่งงบการเงินประจำปี (ส.บช.3)
- ยื่นแบบภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50)
- หน้าที่ที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ
- งานบัญชีบริหาร
- ปิดงบและรายงานผลการดำเนินงาน รายเดือน หรือรายไตรมาสให้กับผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ
- วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการ เพื่อให้สามารถนำตัวเลขมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างทันท่วงที
- งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร
- วางระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน เช่น กำหนดรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กำหนดขั้นตอนระบบการทำงานและผังวงจรเอกสารภายใน เป็นต้น
- การวางแผนภาษีทั้งภาษีนิติบุคคล และอาจครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของกิจการ
- งานบัญชีบริหาร
PMP Accounting Service บริการรับทำบัญชีครบวงจร
PMP Accounting Service บริการรับทำบัญชีทุกประเภทอย่างครบวงจร บริการรับวางระบบบัญชี บริการรับทำบัญชีร้านค้า ร้านอาหาร กิจการต่าง ๆ ช่วยคุณวางพื้นฐานระบบบัญชีให้มั่นคง พร้อมมีบริการจัดทำรายการทางการเงินงบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน รายงานรายรับ รายงานรายจ่าย เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานอย่างถูกต้องและโปร่งใส ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของกิจการธุรกิจของคุณ ใช้ในการวางแผน จัดการกิจการ ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รับทำบัญชีในราคามิตรภาพ ด้วยประสบการณ์กว่า 17 ปีในวงการด้านบัญชี ภาษี และการเงิน เราจึงมีความมั่นใจในการให้บริการที่มีคุณภาพ ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ องค์กร ธุรกิจ เรายินดีให้คำปรึกษาและบริการแก่ท่านผู้ประกอบการทุกท่าน