สุรากลั่นชุมชน คือ ไอเทมที่หลายคนกำลังตามหาในปัจจุบัน ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม แต่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการกลั่นล้วนเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่จะหาได้เฉพาะถิ่นเท่านั้น ความพิเศษเหล่านี้ทำให้สุรากลั่นชุมชนมีการพัฒนาจากสุราที่ผลิตขึ้นมาดื่มกินกันเองในชุมชน เป็นสุราที่กำลังจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และปัจจุบันพบว่า มีสุรากลั่นของบางชุมชนเริ่มมีการส่งออกกันแล้ว
สำรวจตัวเอง พร้อมหรือยังที่จะเป็นผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน คุณต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด และถ้าหากคุณมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ คุณสามารถยื่นขออนุญาตผลิตสุรากลั่นชุมชนกับกรมสรรพสามิตได้
- เป็นรูปแบบสหกรณ์
- เป็นกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติไทย เป็นบุคคลธรรมดา ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายวิสาหกิจชุมชน
- เป็นเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดียวกับสถานที่ที่กลั่นสุรา และเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ขออนุญาตจัดตั้ง
- เป็นนิติบุคคล โดยที่ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสถานที่กลั่นสุราที่ได้ขออนุญาตจัดตั้งเอาไว้
- เป็นองค์กรเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสถานที่กลั่นสุราตามที่ได้ขออนุญาตจัดตั้งเอาไว้
ทำความรู้จักภาษีสุราที่คุณต้องสนิทยิ่งกว่าเพื่อน
เมื่อคุณพร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน สิ่งที่ต้องทำความคุ้นเคยให้สนิทเป็นอย่างดีคือ “ภาษี” โดยรายงานที่คุณจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องจัดทำ ได้แก่
- ภาษีซื้อ รายงานภาษีซื้อที่คุณสามารถแสดงเอกสารหลักฐานแนบไปกับรายงานได้ คือ “ใบกำกับภาษี”
- ภาษีขาย รายงานภาษีขายที่คุณสามารถแสดงเอกสารหลักฐานแนบไปกับรายได้คือ “สำเนาใบกำกับภาษี”
- รายงานสินค้าและวัตถุดิบ คือการนำเอกสารหลักฐานทั้งใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี มาแนบเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงาน โดยสิ่งสำคัญที่ห้ามลืมเด็ดขาดคือ คุณจะต้องลงรายการในรายงานภาษีภายใน 3 วัน “โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้มา หรือจำหน่ายออกไปของสินค้าหรือบริการ”
นอกจากนี้ยังมีภาษีสุราอีกหนึ่งประเภทที่คุณต้องทำความรู้จัก หากเมื่อไหร่ก็ตามสินค้าของคุณเริ่มมีสัญญาณที่ดีในการขาย คือ เริ่มมีการนำสินค้าออกไปขายนอกโรงงาน คุณจะต้องเสียภาษีก่อนขนส่งสุราออกจากโรงงาน ตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ รวมไปถึงค่าธรรมเนียมประจำปีที่ต้องชำระต่อกรมสรรพสามิต โดยการเก็บภาษีจะทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุรา และคุณยังมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติมอีกดังนี้
- ทำบัญชีและงบเดือน เพื่อแสดงจำนวนสุรา และเชื้อสุราต่อเจ้าหน้าที่สรรพสามิต ภายใน 7 วันของเดือนถัดไป
- ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากมีการจ้างแรงงาน คุณจะต้องมีกระบวนการในการจ่ายเงินเดือน จ่ายค่าจ้าง และให้สวัสดิการกับเจ้าหน้าที่ทุกคน รวมไปถึงการให้บริการของคุณด้วย ทั้งการโฆษณาและการขนส่ง กิจกรรมทั้งหมดนี้อย่าลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง และจะต้องนำส่งต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วันของเดือนถัดไป
- ยื่นภาษีเงินได้ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ ที่เมื่อการขายสุรากลั่นสร้างรายได้ให้กับคุณ คุณจึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบที่คุณได้จดทะเบียนไว้ว่า เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
นอกจากที่กล่าวมานี้ ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณสามารถปรึกษากับบริษัทรับจดทะเบียนบริษัทที่ให้บริการครบวงจร ทั้งให้คำปรึกษาด้านภาษีและจัดทำบัญชี จะช่วยให้ธุรกิจของคุณราบรื่น ไม่ติดปัญหาด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้คุณมีสมาธิกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม