การขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat (Value Added Tax) เป็นหนึ่งในภาษีที่น่าจะได้ยินกันบ่อยที่สุด ซึ่ง VAT นี้ คือ การเก็บภาษีจากการจำหน่ายสินค้า ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ หรือการให้บริการโดยผู้ประกอบการ ปัจจุบัน อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยจะเรียกเก็บอยู่ที่ 7% ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าภาษีประเภทนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ในใบกำกับภาษีที่ได้รับหลังการซื้อสินค้าหรือบริการ จากนั้น ผู้ประกอบการจะนำภาษีนี้ส่งให้กับกรมสรรพากร และเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศ รวมถึงการนำไปใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและคืนสู่ประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต
ขั้นตอนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat)
- จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ได้แก่
• แบบ ภ.พ.01
• สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว
• บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
• ภาพถ่ายสัญญาเช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือภาพถ่ายหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
• หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)
• หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์ พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)
• บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการ ผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
• แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการ
• กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป - วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถกระทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
• ยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th
• ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
o กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
o กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นนอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
o กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่ซึ่งสถานประกอบการที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หากไม่มีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถานประกอบการแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นสำนักงานใหญ่
o กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่ตั้งใหม่ที่ยังไม่มีสำนักงานสรรพากรตั้งอยู่ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่เคยควบคุมท้องที่นั้น
o กรณีเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ ยื่นขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากร พื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/ อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้
ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 45 วัน
ค่าธรรมเนียมการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ปัจจุบัน การจด VAT ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ
ความแตกต่างระหว่างบริษัทที่จด VAT กับไม่จด VAT
การจด VAT มีข้อดี ดังนี้
- เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ผู้ประกอบการสามารถใช้ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ในการติดต่อกับคู่ค้า โดยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำให้ธุรกิจดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการยืนยันตัวตนของธุรกิจว่ามีตัวตนจริงอยู่ในระบบของสรรพากร - ฐานลูกค้าที่มากขึ้น
ลูกค้าส่วนใหญ่มักต้องการใบกำกับภาษีเวลาซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าบริการ เพราะต้องการนำภาษีซื้อส่วนนี้ไปใช้ในการลดหย่อนภาษี การที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าจึงเปิดโอกาสให้ธุรกิจมีลูกค้ามากขึ้น - สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
กิจการสามารถนำภาษีซื้อมาขอคืนภาษีได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกิจการซื้อสินค้าราคา 1,000 บาท ก็จะมีภาษีซื้ออยู่ที่ 70 บาท ซึ่งกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอคืนภาษีซื้อ 70 บาทได้ ต่างจากกิจการที่ไม่ได้จด VAT ที่ไม่สามารถขอคืนภาษีส่วนนี้ได้ การจด VAT จึงทำให้ต้นทุนสินค้าลดลง - การจัดทำบัญชีที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
เมื่อกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษี ออกรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้น เมื่อมีรายการซื้อขายเกิดขึ้น จึงต้องบันทึกในรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ทำให้กิจการมีการจัดทำบัญชีที่เป็นระบบ
PMP Serve รับจด VAT, จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
PMP SERVE (THAILAND) คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการด้านบัญชีและภาษี รับจดขอภาษีมูลค่าเพิ่ม รับจด VAT รับจดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด รับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางแผนภาษี วางระบบบัญชี บริการที่ปรึกษาธุรกิจ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม ดูแลท่านโดยนักบัญชีและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีประสบการณ์ในการทำงานยาวนาน ร่วมกับทีมงานคุณภาพที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ในการรับจดขอภาษีมูลค่าเพิ่ม รับจด VAT ให้กับธุรกิจที่หลากหลายที่จะช่วยให้จดขอภาษีมูลค่าเพิ่มของท่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่น และถูกต้องตามหลักของกฎหมาย ในราคามิตรภาพ บริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำในทุกแง่มุมของการจด VAT และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์กว่า 17 ปีในวงการด้านบัญชี ภาษี และการเงิน เราจึงมีความมั่นใจในการให้บริการที่มีคุณภาพ ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ องค์กร ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ ทุกประเภทกิจการของประเทศไทย เรายินดีให้คำปรึกษาและบริการแก่ท่านผู้ประกอบการทุกท่าน
Line: @pmpserve
Facebook: https://www.facebook.com/pmpserve
Tel: 065 – 492 -2283
ที่มา
- https://www.rd.go.th/307.html
- https://www.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/Art_book_N1_Real.pdf