เปิดบริษัทผ่านฉลุย ทำธุรกิจได้อย่างราบรื่น แค่รู้เรื่องภาษีบริษัท

สำหรับธุรกิจที่เพิ่งจดทะเบียนบริษัทใหม่ พร้อมบุคลากรไฟแรง และนโยบายสำหรับขับเคลื่อนองค์กร คงไม่อยากให้ความมุ่งมั่นนี้สะดุดลงเพียงเพราะ “ภาษี” ซึ่งเรื่องนี้หากทำความเข้าใจให้ดี จะเป็นเรื่องที่สามารถจัดการได้ง่าย แต่ถ้าละเลยจะกลายเป็นปัญหากวนใจ จนอาจส่งผลให้ธุรกิจสะดุดได้เลยทีเดียว ดังนั้นผู้ประกอบการควรทำความรู้จักและเข้าใจกับภาษีบริษัท ที่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี และไม่มีปัญหาด้านกฎหมายภาษีตามมา

5 ภาษีบริษัท ที่ไม่ควรละเลย รีบทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อม

                เมื่อบริษัทเริ่มดำเนินธุรกิจและเริ่มมีรายได้เข้ามา พร้อมกับมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไป สิ่งที่ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมคือ ความรู้เรื่องภาษีบริษัทว่ามีอะไรบ้าง แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้บริษัทดำเนินกิจการไปได้อย่างถูกต้องตามหลักการ โดยที่ไม่มีปัญหาเรื่องของภาษีตามมา

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีใกล้ตัวแค่เพียงเราซื้อของกินของใช้ก็ต้องจ่ายภาษีประเภทนี้กันโดยอัตโนมัติ ส่วนบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มจะมาจากการซื้อขาย การให้บริการ และการนำเข้าสินค้า โดยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ หากเมื่อไหร่ก็ตามที่บริษัทมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และหลังจากจดทะเบียนแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อมีการขายสินค้าทุกครั้ง

และประเด็นสำคัญคือ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ผู้ประกอบการจะต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานวัตถุดิบ และรายงานสินค้าคงเหลือ ส่งพร้อมกับแบบ ภ.พ.30 ให้แก่กรมสรรพากร ถึงแม้ว่าเดือนนั้น ๆ จะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นก็ตาม

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจะต้องหักเก็บเอาไว้เมื่อมีการซื้อ หรือจ่ายค่าบริการตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด และจะต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีดังนี้

  • ค่าจ้าง, เงินเดือน อัตราต่ำสุด 0% โดยจะอิงตามอัตราก้าวหน้าของภาษีบุคคลธรรมดา
  • ค่าจ้างทำงานหรือบริการ อัตราต่ำสุด 0% โดยจะอิงตามอัตราก้าวหน้าของภาษีบุคคลธรรมดา
  • ค่าจ้างรับเหมา อัตรา 3%
  • ค่าจ้างสำหรับบริการวิชาชีพอิสระ อัตรา 3%
  • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ อัตรา 5%
  • ค่าโฆษณา อัตรา 2%
  • ค่าขนส่ง อัตรา 1%
  • อากรแสตมป์

ภาษีสำหรับบริษัทที่ใช้ดวงแสตมป์ปิดบนเอกสารราชการต่าง ๆ หรือหนังสือสัญญาต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน, สัญญาเช่าที่และโรงเรือน, สัญญาจ้างทำสิ่งของ, สัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาค้ำประกันต่าง ๆ เป็นต้น หากในบางกรณีผู้ประกอบการพบว่า ตราสารจำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนมาก นับเป็นราคาหลักพันบาท ผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับสำนักงานสรรพากรประจำพื้นที่ เพื่อแบบคำขอ อ.ส.4 เพื่อขอชำระค่าอากรแสตมป์เป็นเงินแทนการปิดดวงอากรแสตมป์ได้

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีที่เกิดจากการคำนวณกำไรสุทธิ ที่บริษัทจะต้องจ่ายหากกำไรเข้าเกณฑ์ที่กำหนด โดยกำไรสุทธิจะมาจากรายได้หักกับค่าใช้จ่าย จากนั้นจะนำกำไรสุทธิมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษี และเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องชำระภาษี ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ ภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดงบการเงิน และ ภ.ง.ด.51 จะต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีภาษีครึ่งปี

  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่ถูกจัดเก็บในธุรกิจที่มีการเฉพาะเจาะจงเอาไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, โรงรับจำนำ และธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น หากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเฉพาะเหล่านี้ สามารถข้ามภาษีประเภทนี้ไปได้เลย

เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่เพิ่งเปิดบริษัทใหม่ ควรขอคำปรึกษาจากบริษัทบัญชี หรือบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านภาษี จะได้คำตอบและแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าการศึกษาเอาเอง หรือจะให้แน่ใจและสบายมากขึ้นอีก คุณสามารถเข้าไปของคำปรึกษากับสำนักงานสรรพากรประจำพื้นที่ได้ว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องภาษีตามมา

Scroll to Top